top of page

14 พฤศจิกายน ตระหนัก "วันเบาหวานโลก"


“ไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” คำนี้ยังใช้ได้ตลอดกาล เราจะตระหนักเมื่อเราเป็นโรค วันเบาหวานโลก ก่อตั้งโดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อต่อสู้เกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสุขภาพจากโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นและก็เป็นวันเกิดของ “แบนติง”ซึ่งเป็นผู้ค้นพบอินซูลินอีกด้วย“วันเบาหวานโลก”กลายเป็นวันสหประชาชาติอย่างเป็นทางการในปี 2549โดยมีข้อมติแห่งสหประชาชาติ

วันเบาหวานโลก เป็นวันหนึ่งที่ทั่วโลกให้เราตระหนักถึง ผลที่ตามมามากมายหากเราเป็นแล้ว หรือเราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราเป็นโรคนี้ พฤติกรรมในเรื่องของการใช้ชีวิต การบริโภคอาหาร ที่เป็นปัจจัยเบื้องต้น สะสมอาการโดยไม่รู้ตัว ในการนำสู่โรคเบาหวาน หากใครเป็นแล้ว จะเป็นอาการที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการแทรกซ้อนนำไปสู่โรคต่างๆได้มากมาย 



อย่างไรก็ตามหากเรารู้วิธีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต  การบริโภคอาหารของตัวเอง อย่างน้อยจะช่วยลดการเกิดอาการของโรคเบาหวานลงได้  โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถควบคุมได้หากเป็นแล้วทำความเข้าใจกับตัวโรค และให้ความร่วมมือในการรักษา ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติได้  แล้วอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ และเราจะลดความเสี่ยงจากอาการเบาหวานได้อย่างไร 

บทความนี้จะเป็นบทความหนึ่งที่เป็นไอเดีย และให้ตระหนักถึง ผลที่ตามมาเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ปรับการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน  และการวางแผนก่อนหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อโรคเบาหวานถามหาโดยไม่รู้ตัว

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

 

ในร่างกายของเราเมื่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด



 จากการสำรวจของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ใจความสำคัญว่า

 

“A new global survey conducted by the International Diabetes Federation (IDF) reveals that 77% of people living with diabetes have experienced anxiety, depression, or another mental health condition because of their diabetes.

 

“การสำรวจระดับโลกครั้งใหม่ที่จัดทำโดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) เผยให้เห็นว่าผู้ป่วยเบาหวาน 77% มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เนื่องมาจากโรคเบาหวาน”

 

อ้างอิงจาก : https://worlddiabetesday.org/press-release/


จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขนาดที่จัดตั้งให้ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักเกี่ยวกับผลที่ตามมาของโรคนี้  สำหรับคนที่ยังไม่ได้เป็นโรคนี้ หรือยังไม่ได้ไปตรวจ จะดีกว่ามั๊ย วันนี้ เรามาทำความเข้าใจในเรื่องของการปรับเปลี่ยนตัวเราเองเพื่อให้ร่างกายลดความเสี่ยงลงได้บ้าง ก่อนอื่นมารู้สาเหตุกันก่อนว่า สาเหตุทางไหนบ้างเป็นความเสี่ยงที่อาจจะให้อาจเกิดโรคเบาหวานบทความนี้ ผู้เขียนได้ค้นหาข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นสาเหตุสำคัญ มีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factor) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factor) เช่น


-      กรรมพันธุ์

-      น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย

-      อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น

-      โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน

-      การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน

-      ความเครียดเรื้อรัง

-      การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี

-      การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน



หลากหลายสาเหตุของโรคเบาหวาน Check list ที่เราอาจจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ว่า เราอยู่ในกลุ่มนี้หรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องทำการตรวจร่างกายเพื่ออ่านค่าต่างๆ หากรู้ทัน แพทย์จะได้ช่วยรักษาอาการได้ทัน

  • หลาย ๆ คนอาจคิดว่าผู้สูงอายุเท่านั้นที่สามารถเป็นโรคเบาหวานได้ ที่จริงแล้ว โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุซึ่งพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

  • เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกาย(Body mass index; BMI) ตั้งแต่ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ ตั้งแต่ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในคนเอเชีย

  • ความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)

  • สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม

  • ไม่ออกกำลังกาย (physical inactivity)

  • ดื่มสุรา

  • สูบบุหรี่

  • สตรีที่มีโรคถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome)

  • เคยตรวจพบ ระดับน้ำตาลสะสม Hemoglobin A1C (Hb A1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7 % , ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Impaired fasting glucose) คือมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

  • ไขมันชนิดชนิดเอชดีแอล (HDL) น้อยกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์(TG) มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

  • ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง



บางครั้ง ด้วยไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต กับเวลาที่เร่งรีบและมีอาการที่มองว่าไม่ร้ายแรง อาการที่ควรสังเกตตัวเอง อยู่บ่อยๆ หากเป็นอาการแบบนี้บ่อยเกินไป นั่นแสดงว่าเราควรไม่ชะล่าใจ ของอาการเหล่านี้ อาจจะเป็นอาการเบื้องต้น ของเบาหวาน  

ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน

-      กระหายน้ำ

-      อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

-      หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น

-      คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย

-      ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน

-      ปลายมือ ปลายเท้าชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม


สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปฏิบัติ หรือแม้แต่ผู้ที่ยังไม่เป็น แต่แนวทางนี้เป็นการควบคุมให้ร่างกายเราลดความเสี่ยงลงไปได้มากที่เดียว


  • เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ

  • พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม (โซเดียมน้อยกว่า 1,500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)

  • รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร

  • ควบคุมน้ำหนัก

  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา

  • ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิค (moderate intensity) วันละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์ กรณีไม่มีข้อห้าม

  • ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง

  • ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย

  • ดูแลและตรวจเท้าทุกวัน เพื่อสำรวจแผลที่ง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า

  • ดูแลสุขภาพฟัน

  • ติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

  • รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

  • ผู้ป่วยและผู้ดูแลสังเกตอาการผิดปกติเนื่องจากภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินไป เช่น หน้ามืด ใจสั่น หมดสติ


ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นแล้วต้องรักษาอาการไปตลอด โรคเบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100%  ส่วนใหญ่จะรักษาอาการให้ใกล้เคียงกับภาวะคนปกติ ให้มากที่สุดคือ ระดับน้ำตาล การควบคุมอาหาร น้ำหนัก เป็นต้น  และเมื่อคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณต้องจะต้องดูแลและรักษาไปตลอดชีวิต ค่าใช้จ่าย โดยประมาณสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 45,000 บาท ต่อเดือน x 10 ปี = 4,500,000 บาท ในการรักษากรณี ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ฉีดอินซูลิน การออกกำลังกายบำบัด เป็นต้น

 

ด้วยปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม รวมถึงไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน การดำรงชีวิตจนกลายเป็นนิสัยส่วนตัว อาการบางอย่างที่เป็นไม่มาก ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยกังวลกันเท่าไรใช่มั๊ยคะ ?  ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ต้องใช้เวลาที่สะสมมานาน บวกกับสาเหตุอื่นๆ ที่มาเป็นตัวเร่งให้เกิดอาการของโรคเบาหวาน ค่ารักษาพยาบาลโรคเบาหวานที่เป็นโรคเรื้อรัง จำเป็นที่ต้องนำมาตระหนักเหมือนกัน

 



วันนี้เราสร้างสวัสดิการให้ตัวเอง เพื่อลดความกังวลในเรื่องค่ารักษาพยาบาลของโรคนี้ บางคนใช้สวัสดิการจากรัฐ บางคนสร้างสวัสดิการให้ตัวเอง เป็นสวัสดิการทางเลือก ด้วยการทำประกันชีวิตที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลโรคเบาหวาน  ข้อสังเกตสำหรับผู้ที่มีสิทธิจะมีสวัสดิการทางเลือกอย่างประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองโรคนี้ ต้องไม่มีประวัติที่เป็นโรคเหวาน  หากรับพิจารณา อาจจะอยู่ในเงื่อนไขของบริษัทนั้นๆ ที่คุ้มครองได้ ส่วนใหญ่จะให้แถลงสุขภาพ บางรายจะให้ตรวจสุขภาพก่อนทำประกันสุขภาพก็มี  แม้แต่ประกันชีวิตยังตระหนักถึงการรับพิจารณาก่อนทำประกัน เพราะทางบริษัทประกันตระหนักได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน และอาการแทรกซ้อนที่ตามมา ความคุ้มครองในการดูแลรักษาพยาบาล ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน หากคุณไม่มีอาการดังที่กล่าวมาก่อนหน้า และต้องการสร้างสวัสดิการทางเลือก จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่อย่างน้อยช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายหากมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณจริงๆ

 

Writer : Better Call Nika

 

อ้างอิงจาก :

 

Comments


bottom of page