top of page

เข้าใจง่ายๆ ออมเงินในแบบประกันชีวิต

การออมเงินเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนชีวิต จะเห็นว่าออมเงินสามารถออมได้หลายแบบ เช่น เอาง่ายๆ บางคนออมเงินในธนาคาร ข้อดีของการออมเงินในธนาคารคือเพื่อสภาพคล่องทางการเงิน เอาไว้ใช้จ่ายที่จำเป็น และยามฉุกเฉิน หรือบางคนเป็นทุนสำรองสำหรับธุรกิจ และถ้าฝากประจำในธนาคารส่วนใหญ่จะเป็นระยะสั้นที่จะเหมาะกับหลายๆคน หรือบางคนอาจจะออมในลักษณะทองคำ ที่ดิน  สังหาริมทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น แต่จะมีการออมอีกแบบที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้และไม่เข้าใจคอนเซ็ป(Concept) ของการออมเงิน ในแบบของประกันชีวิต



เพราะการออมเงินในแบบของประกันชีวิต เป็นการออมเงินที่สร้างวินัยทางการเงินอย่างหนึ่ง เป็นการวางทางการเงินระยะยาว หากเราต้องการออมเงินให้ได้ผลตอบแทนที่พอจะต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ และในความเสี่ยงที่ไม่สูง การออมเงินในแบบประกันชีวิต อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ของการวางแผนการเงินของตัวเอง

ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งบนโลกใบนี้ ที่เราต้องเผชิญร่วมกันนั่นคือ เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และทุกๆปีมีการเปลี่ยนแปลง เสมือนเป็นคลื่นน้ำที่เข้ากระทบตัวเรา หากเราไม่ปรับตัวไปตามความสูงคลื่น(เศรษฐกิจโลก) เหมือนเราต้านคลื่นน้ำ ทำให้เราหมดกำลังในที่สุด

ในมุมมองของการออมก็เช่นกันแต่ละแหล่งออมเงิน มีความผันแปร ความเสี่ยงทางการเงินที่แตกต่างกัน ให้เห็นภาพง่ายๆ และชอบพูดกันคือ

อย่าเก็บไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว คือเราควรกระจายความเสี่ยง ออกเป็นหลายๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้หรือการลงทุน เพราะถ้าใส่ไข่ทุกฟองในตระกร้าใบเดียวกัน หากตระกร้านั้นเป็นอะไรไปไข่จะเสียหายทั้งหมด เทียบเท่ากับการสูญเสียเงินออมหรือรายได้ทั้งหมดของเรา


เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง การออมเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่ออมเงินระยะยาว ที่เงินต้นอยู่ครบ มีเงินคืนทุกรอบปี และอาจจมีเงินคืนพิเศษให้  ลดหย่อนภาษีได้ กู้ยืมได้สูงสุด   90 %  มีโอกาสได้เงินปันผล และยังคุ้มครองชีวิตให้ (รายละเอียดเพิ่มเติม)

ที่กล่าวมาเบื้องต้นเกิดขึ้นกับหลายๆ ครอบครัวที่เข้าใจและรอบคอบในการวางแผนทางการเงินและกระจายความเสี่ยงทางการเงิน ก่อนอื่น ทำความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะ ของภาษาประกันชีวิตเบื้องต้นที่หลายๆคนยังสับสนในภาษาประกันภัย เช่น


·   ผู้เอาประกัน คือ ผู้ที่ทำประกัน

·   เบี้ยประกัน คือ จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายให้บริษัทประกันในแต่ละงวด

·   ทุนประกัน คือ จำนวนเงินที่บริษัทประกันทำการตกลงว่าจะจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ตามเงื่อนไขในสัญญาหรือกรมธรรม์

·   กรมธรรม์ คือ เอกสารรายละเอียด เงื่อนไขและข้อตกลงต่าง ๆ ของสัญญาระหว่างบริษัทประกันกับผู้เอาประกัน

·   ระยะเวลาความคุ้มครอง คือ ระยะเวลาสุดท้ายของสัญญาที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองในการทำประกัน




แบบประกันชีวิตมี 4 แบบ ได้แก่ แบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และแบบบำนาญ  ปัจจุบันมีเพิ่มเข้ามาคือ ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน ในบทความนี้จะเกริ่นคร่าวๆ 3  แบบประกันชีวิต เพื่อเป็นไอเดียในการออมในลักษณะประกันชีวิต

·   แบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เป็นแบบจ่ายเบี้ยประกันเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้เอาประกันเลือกได้ว่าจะจ่ายเบี้ยประกันแบบไหน เช่น 10 ปี, 15 ปี หรือ 20 ปี หรือใช้อายุเป็นตัวกำหนดก็ได้  เช่น จ่ายเบี้ยจนถึงอายุ 60 ปี ขณะที่จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดชีวิตของผู้เอาประกัน และหากผู้เอาประกันเสียชีวิต (ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม) บริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์เท่ากับจำนวนทุนประกันที่ผู้เอาประกันได้ซื้อไว้ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งกำหนดระยะเวลาสุดท้ายของสัญญา เช่นที่อายุ 90 ปี หรือ 99ปี (แล้วแต่กรณี)  

·   แบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ การเก็บออมในรูปแบบประกันชีวิต และมีความคุ้มครองควบคู่ไปด้วยในระยะเวลาเดียวกันแต่มีข้อแตกต่างจาการออมในธนาคารที่จะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ก่อนครบกำหนดสัญญา (ทำการถอนได้หรือที่เรียกว่าเวนคืนกรมธรรม์ถ้าเวนคืนก่อนจุดคุ้มทุน เราจะขาดทุนแน่นอน )

·   แบบบำนาญ ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินคล้ายประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทำไว้ แต่รูปแบบการคืนเงินระหว่างทาง ผู้ถือกรมธรรม์ต้องออมเงินอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุเกษียณ เช่น 60 ปี หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกันที่เลือก และจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของเงินบำนาญ ทุกๆปี จนครบกำหนดสัญญา



ทิป(Tips) เล็กๆ ในการออมเงินกับแบบประกันชีวิต

  • เลือกแบบประกันให้เหมาะสม

เบื้องต้นเราก็ทราบเกี่ยวกับแบบประกันชีวิต ซึ่งแต่ละแบบจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ เน้นในการออมเงินระยะยาว ไอเดียหนึ่งก่อนทำเงินออมระยะยาวในแบบประกันชีวิต คือ เงินจำนวนหนึ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ในอนาคตแน่นอน เช่น มุมมองครอบครัว ก็จะนึกถึงออมเงินเพื่อการศึกษาลูก หรือ ออมระยะยาวไว้ใช้หลังเกษียณที่ทุกคนจำเป็นต้องมี

การออมเงินเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ผู้ออมมีวินัยมากขึ้น มีเงินเก็บในระยะยาว และรู้จักวางแผนทางการเงิน แต่การออมก็ต้องอยู่ ในพื้นฐานของความเหมาะสม และความสามารถที่เราสามารถชำระได้ เพราะการออมในในรูปแบบประกันชีวิต เป็นโครงการออมเงินเน้นระยะยาว นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถฝากถอนเหมือนเงินฝากธนาคารทั่วไปได้ นั่นเอง

  • ออมตอนอายุยังน้อยได้เปรียบ

    • ถามว่าต้องอายุเท่าไรถึงออมได้ แล้วแต่แบบของประกันชีวิต บางกรมธรรม์ตั้งแต่แรกเกิดก็มี ยิ่งออมเร็วเบี้ยประกันยิ่งถูก

    • บางแบบประกันชีวิต อาจมีการแถลงสุขภาพ หรือบางกรณีต้องตรวจสุขภาพเลยก็มี แล้วแต่แบบประกันชีวิตเหมือนกัน ถ้าเป็นการออมและมีแถมเกี่ยวกับสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้องจะมีการแถลงสุขภาพ หากไม่เข้าเงื่อนไขของแบบประกันนั้นๆ บริษัทก็อาจจะแนะนำแบบประกันแบบอื่นที่เหมาะกับเราแทน ทำให้เราพลาดที่จะได้แบบประกันที่เราต้องการได้ ดังนั้นอายุก็ถือเป็นตัวแปรหนึ่งในแบบประกันที่มีเรื่องสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง

  • เปรียบเทียบกับหลายๆ บริษัทประกันชีวิต

การเปรียบเทียบการออมเงินระยะยาวกับบริษัทประกันชีวิตหลายๆ บริษัท เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราเข้าใจรูปแบบการออมระยะยาวของแต่ละบริษัทและเราสามารถได้รายละเอียดมากขึ้นและเลือกแบบประกันที่ให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด ทุกปีบริษัทประกันชีวิตก็มีแคมเปญใหม่ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อจูงใจกับผู้ที่สนใจออมเงินระยะยาว ซึ่งจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าการออม คือการเก็บเงินไว้กับใครก็ได้ที่เรารู้สึกสบายใจ และไว้ใจนั่นเอง



  • ผลประโยชน์ที่มากกว่าการออม

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราตัดสินใจออมเงินระยะยาวในแบบของประกันชีวิตผลประโยชน์ที่ได้รับจะทำงานทันที คือ

o  ไอเดียของการออมให้มองว่าอีกกี่ปีข้างหน้าเราจะมีเงินก้อนเท่าไร เป็นการกำหนดเป้าหมายการวางแผนการเงินอย่างหนึ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สร้างความมีวินัยการออมให้ตัวเอง

o  คุ้มครองชีวิตผู้ออมจนกระทั่งครบสัญญาในกรมธรรม์นั้นๆ หมายความว่า เงินออมนี้จะได้รับเงินเมื่อครบสัญญา หากเสียชีวิตบริษัทประกันชีวิตจะคืนเงินให้ในจำนวนเงินใดจำนวนหนึ่งที่มากกว่า นั่นคือเงินออมหรือเงินเอาประกันภัย บริษัทจะคืนเงินที่จำนวนเงินใดที่มากกว่าในช่วงระยะเวลานั้น และบางกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจ่ายเพิ่มให้อีก ซึ่งแล้วแต่แบบประกัน และเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัท

o  ให้ความคุ้มครองพิเศษ เช่น ช่วยงดชำระเบี้ย ช่วยออกค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแบบประกัน และเป็นไปตามเงื่อนไข ของกรมธรรม์ นั้นๆ

o  ลดหย่อนภาษี เราสามารถนำกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เราทำเงินออมไปลดหย่อนภาษีได้

o  กู้ยืมเงินได้ เราสามารถกู้ยืมเงินจากประกันชีวิตได้ ซึ่งอยู่ไปตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์นั้นๆ

o  ได้รับเงินคืนเมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ หรือเงินคืนพิเศษ ตามเงื่อนไขและแบบประกันชีวิตที่เราเลือก

o  การออมบางแบบประกันมีโอกาสได้รับเงินปันผล


  • ตัวอย่างการออมระยะยาวในแบบประกันชีวิต

การออมเงินระยะยาวในบทความนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการออม เช่นตัวอย่างการออม ของกรุงเทพประกันชีวิต ที่ออกแบบการออมให้ตรงตามความต้องการของผู้ออม

กรุงเทพสุดคุ้ม (เป็นชื่อทางการตลาด) จุดเด่น คือความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และรับเพิ่มกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ และค่ารักษาพยาบาล เหมาะกับวัยทำงานและผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูง  (รายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สอบถามตัวแทน)

บีแอลเอ แฮปปี้เซฟวิ่ง (ชื่อทางการตลาด) จุดเด่น คือ คืนเงินในรอบปีกรมธรรม์  1-8 % แล้วแต่แบบกรมธรรม์ บางแบบกรมธรรม์ ความคุ้มครองชีวิตกรณีเสียชีวิต และ หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คุ้มครองเพิ่ม รวมเป็น 200 % กรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร บริษัทประกันภัยงด ชำระเบี้ยให้ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับแบบประกัน ของบีแอลเอ แฮปปี้เซฟวิ่ง (รายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สอบถามตัวแทน)



อ่านบทความมาถึงช่วงสุดท้ายแล้ว เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านพอจะได้ไอเดียในการออมบ้างนะคะ อย่างน้อยก็เข้าใจแล้วว่า การออมมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะออมแบบไหน มีข้อดีที่แตกต่างกัน อย่างถ้าต้องการสภาพคล่องอาจจะเก็บเงินออมในธนาคาร ก็ได้ หรือจะออมในอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่การออมในแบบประกันชีวิต ที่สำคัญเราออมเงินบนพื้นฐานความเหมาะสมของตัวเอง หากเป็นการออมระยะยาวอย่างออมแบบประกันชีวิต นั่นคือมีข้อกำหนดแล้วว่าเป้าหมายในการวางแผนการเงินในอนาคตของเรา

อาจะเริ่มจากออมเล็กๆที่อยากจะฝึกออมและเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ พอเห็นวินัยของตัวเองก็เริ่มออมใหม่ ที่เหลือให้เงินทำงานจนครบสัญญาของแบบประกันนั้นๆ เงินออมในแบบประกันชีวิต มองได้หลากหลายมิติ จริงๆ ค่ะ บางคนมองเป็นการสร้างวินัยบ้าง มองเป็นการวางแผนชีวิตในอนาคตบ้าง มองเป็นการลงทุนบ้าง หรือแม้กระทั่งมองเป็นมรดกสู่ลูกหลานบ้าง  เพราะหากเวลาผู้เอาประกัน อยากจะทำเป็นมรดกให้ลูกหลาน ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้เรียบร้อยแล้ว นั่นเอง แล้วเพื่อนๆ ผู้อ่านทุกท่านหากจะออมระยะยาวในรูปแบบประกันชีวิตเล่มแรก จะออมในมิติไหนของตัวเองคอมเมนต์มานะคะ 


ผู้เขียน (Writer) : Better Call Nika

 

อ้างอิงจาก  :





 

Comments


bottom of page