คำศัพท์ในยูนิตลิ้งค์ (Unit Linked)ที่จำเป็นต้องรู้
- Better CAll Nika
- 5 ต.ค. 2567
- ยาว 2 นาที

ยูนิตลิ้งค์ (Unit Linked) หรือที่เรียกว่า ประกันชีวิตควบการลงทุน หลายๆคนอาจจะมีประกันชีวิตแบบนี้แล้วอย่างน้อยหนึ่งกรมธรรม์ ที่มีมุมมองในการวางแผนชีวิต ด้วยการมีประกันชีวิตเข้ามาเพื่อลดความเสี่ยงระหว่างทางของชีวิต ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป การวางแผนชีวิตก็ย่อมแตกต่างเช่นกัน ในแบบประกันของยูนิตลิ้งค์ ถ้ามองในมุมมองของเงินออม มีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม ในมุมมองแนบคุ้มครองสุขภาพ ถ้าได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ สามารถนำผลตอบแทนนั้นมาชำระเบี้ยประกันในงวดถัดไป และเงินที่มาจ่ายเบี้ยประกันส่วนหนึ่งนำไปลงทุนด้วย ในมุมมองของมรดกครอบครัว มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนบวกเพิ่มให้กับทุนประกันที่ทำไว้ให้อีก

แต่การที่จะได้ผลตอบแทนในลักษณะแบบนี้ อยู่ที่การวางแผนและการเลือกพอร์ตการลงทุนของคุณเอง สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ การลงทุนมาคู่กับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ เพราะประกันชีวิตควบการลงทุนไม่การันตีผลตอบแทน
ในบทความนี้ เพื่อให้คุณเข้าใจในเรื่องคำศัพท์ของ ยูนิตลิ้งค์ (Unit Linked) หรือประกันชีวิตควบการลงทุน เป้นการขยายความเข้าใจแบบประกันนี้มากขึ้นก่อนที่มองภาพรวมของกลไกการทำงานของยูนิตลิ้ง ซึ่งประกันยูนิตลิ้งค์ ค่อนข้างโปร่งใส ในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจในการวางแผน จะมีแบบประกันชีวิตควบการลงทุนกรมธรรม์แรก สิ่งที่คุณต้องรู้ คือ คำศัพท์ต่างๆ ของยูนิตลิ้งค์ กลไกการทำงานของยูนิตลิ้งค์ และตัวอย่างแบบยูนิตลิ้งค์ ในบทความนี้ จะอธิบายคร่าวๆ ถึงลักษณะของแต่ละคำศัพท์ ทำหน้าที่ อะไรบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น โดยข้อมูลบางส่วน และตัวอย่าง จาก กรุงเทพประกันชีวิตเพื่อมองเห็นภาพยูนิตลิ้งมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนมีโอกาสได้เข้ารับฟังอบรม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ยูนิตลิ้งค์

คำศัพท์ในแบบประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) ที่ต้องรู้
ส่วนของเบี้ยประกัน 4 คำศัพท์ที่ต้องรู้
-Regular Premium (RP) คือ เบี้ยประกันภัยหลักชำระรายงวด เพื่อคุ้มครองชีวิต รายงวดหมายถึงสามารถจ่ายเป็นรายปี รายหกเดือน รายสามเดือน รายเดือนได้ เบี้ย RP นี้ ไม่สามารถขอเพิ่มได้หลังออกกรมธรรม์แล้ว และลดเบี้ย RP ได้แต่ต้องทำการชำระเบี้ย RP ครบสามปีก่อน เมื่อลดแล้วจะไม่สามารถเพิ่มเบี้ยได้ หากทำการลดจะมีผลต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยเช่นกัน ตัวอย่างบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยหลักหากจำเป็นต้องถอน 2 ปีแรก มีค่าธรรมเนียมในการถอน ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป ถอนได้ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่เป็นที่น่าเสียดายคุณจะเสียสิทธิหลายๆอย่างหากทำการถอนเบี้ย RP ดังนั้น ชำระเบี้ย RP แนะนำอย่างน้อย 10 ปีอย่างต่อเนื่อง คุณจะได้สิทธิในเรื่องของ Non-Lapse Guaranteed และหากชำระต่อไปหลังปีที่ 9 ก็จะได้รับ Royalty Bonus ด้วย เป็นต้น

จุดเด่นเบี้ยประกันภัยหลักชำระรายงวด (RP)ของยูนิตลิ้งค์ สร้างจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงกว่า ในขณะที่จ่ายเบี้ยประกันน้อยกว่า แบบประกันภัยทั่วไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เพศ จึงจำเป็นต้องปรึกษาตัวแทนประกันชีวิตในการวางแผนตั้งแต่แรก ในมุมมองของผลประโยชน์เสมือน เป็นมรดกครอบครัว ตัวอย่างเช่น กรุงเทพประกันชีวิต กรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์จำนวนเงินที่มากกว่า ระหว่างเงินเอาประกันภัย หรือ มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยหลัก+ 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปีในขณะนั้น หลังจากหักค่าใช่จ่ายต่างๆ เงินที่เหลือจะนำไปลงทุน เป็นการต่อยอด มีโอกาสได้สร้างมูลค่าของมรดกครอบครัวเพิ่มขึ้น

-Regular Top up Premium (RTU) คือ เบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมพิเศษที่ชำระเป็นประจำพร้อมเบี้ยประกันภัยหลัก ลักษณะเด่นของเบี้ย RTU เพื่อเพิ่มเงินในมูลค่าบัญชีกรมธรรม์ โดย RTUจะต้องชำระรายงวดกับเบี้ยประกันภัยหลัก แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายตั้งแต่เริ่มทำกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ชำระเป็นรายปี แรกไม่ได้จ่ายเบี้ย RTU แต่ปีที่สองอยากจะจ่ายเบี้ย RTU ก็สามารถจ่ายได้พร้อมกับเบี้ยประกันภัยหลัก ขอปรับเปลี่ยนเพิ่มหรือลดเบี้ย RTU ได้ตลอดเวลายกเว้นช่วงหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัยหลัก ในส่วนของการถอนเงินเบี้ย RTU ไม่มีค่าธรรมเนียมในการถอน แจ้งยกเลิกการจ่ายเบี้ย RTU ได้

-Ad-Hoc Top up Premium(ATU) คือเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมพิเศษที่ไม่ได้ชำระเป็นประจำพร้อมเบี้ยประกันภัยหลัก ลักษณะเด่นของเบี้ย ATU เพื่อเพิ่มเงินในมูลค่าบัญชีกรมธรรม์ โดยจ่ายได้ตลอดตราบที่กรมธรรม์ยังมีสถานะชำระเบี้ยปกติ สามารถขอปรับเปลี่ยยเพิ่มหรือลดเบี้ยATUได้ตลอดเวลา เหมือนกับ เบี้ย RTUยกเว้นช่วงหยุดพักชำระเบี้ย ในส่วนของการถอนเงินไม่มีค่าธรรมเนียมในการถอนเช่นกัน
-Single Premium (SP) คือเบี้ยประกันภัยหลัก ชำระครั้งเดียว จุดเด่นของเบี้ย SP คือความต้องการ อิสระในการบริการจัดการ การวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อชีวิตที่มั่นคง เช่น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ของกรุงเทพประกันชีวิต บีแอลเอ เวล์ ลิ้งค์ (BLA Wealth Link) เป็นต้น

-Unit Deduct Rider (UDR) หรือให้นิยามว่า สัญญาเพิ่มเติมแบบยูดีอาร์ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมเฉพาะกับประกันชีวิตควบการลงทุน(Unit Linked) เท่านั้น โดยลักษณะของสัญญาเพิ่มเติมนี้เป็นแบบที่ชำระค่าประกันภัยโดยการขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วน มาจ่ายค่าประกันภัย โดยเบี้ยประกันภัยคำนวณรวมในเบี้ยประกันภัยหลัก ซึ่งหลักหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์แล้ว เบี้ยประกันส่วนที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนที่คุณเลือกไว้ ออกแบบมาสำหรับบางผลิตภัณฑ์เท่านั้น เช่น บีแอลเอ แฮปปี้เฮลธ์ ยูดีอาร์แนบกับ BLA Premier Link ของกรุงเทพประกันชีวิต เป็นต้น
ส่วนของค่าใช้จ่าย
-Premium Charge คือ ค่าการดำเนินการประกันภัย เช่น กรุงเทพประกันชีวิต จะมีค่าพรีเมียมชาร์จ (Premium Charge) เป็นเวลา 8 ปี หลังจากปีที่ 9 ไม่มีค่าดำเนินการประกันภัย
-Cost of Insurance (COI) คือ ค่าประกันภัย หรือ ค่าความเสี่ยงที่บริษัทประกันจะต้องรับไว้ ดังนั้นยิ่งบริษัทประกันภัยรับความเสี่ยงไว้มาก เบี้ยตัวนี้ก็จะมากตาม ค่าธรรมเนียมนี้จะคิดเป็นรายเดือน ข้อสังเกตปัจจัยของค่าธรรมเนียม COI จะขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ สุขภาพ และเงินเอาประกันภัย (ทุนประกันภัย)

-Admin Fee คือ ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมนี้ จะคิดเป็นรายเดือนเช่นกัน เช่นกรุงเทพประกันชีวิต 0.6 % ต่อปี ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
-Cost of Rider (COR) คือ ค่าประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมแบบยูดีอาร์ (Unit Deducting Rider หรือUDR) กรณีที่คุณประสงค์จะซื้อสัญญาเพิ่มเติมแบบยูดีอาร์ไว้แนบกับเบี้ยประกันภัยกลัก ค่าธรรมเนียมประกันภัยของ COR นี้จะทำงานทันทีและระบบจะหักค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน เช่น กรุงเทพปรันชีวิตจะมีสัญญาเพิ่มเติม UDR คือ บีแอลเอ แฮปปี้เฮลธ์ ยูดีอาร์ ออกแบบมาเพื่อแนบกับเบี้ยประกันภัยหลักรายงวด เป็นต้น

คำศัพท์อื่นๆในยูนิตลิ้งค์
-Account Value คือ มูลค่าขายคืนหน่วยลงทุน หรือ มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ (Account Value) คอนเซ็ปท์จะคล้ายกับ NAV (Net Asset Value)ในกองทุนรวม (คือ มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวม รวมถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุน หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุนรวมนั้น โดยปกติแล้วจะทำการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาดในแต่ละวัน (Mark to Market) เพื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ) คุณจะรู้มูลค่าทางบัญชีกรมธรรม์ ต่อเมื่อ หักค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินที่เหลือจะนำไปลงทุนในกองทุนรวมที่คุณเลือก

-Partial Withdrawal คือการถอนเงินออกบางส่วนเช่น อย่างบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต หากจะทำการถอนจากเบี้ยประกันภัยหลัก (RP)
ปีแรก ค่าธรรมเนียมในการถอน 50 % ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถอน
ปีที่สอง ค่าธรรมเนียมในการถอน 25 % ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถอน
จากปีที่ 3 เป็นต้นไปไม่มีค่าธรรมเนียมในการถอน
อย่างไรก็ตาม การถอนเงินจากกรมธรรม์ จะมีผลหลายอย่างในเรื่อของสิทธิต่างๆ เช่น Non Lapse Garanteed, Royalty Bonus หากไม่จำเป็นแนะนำ ถือครองกรมธรรม์แบบยูนิตลิ้งค์ จนถึงปีที่สาม ซึ่งไม่มค่าธรรมเนียมในการถอน
ส่วนของสิทธิต่างๆ ในยูนิตลิ้งค์
-Premium Holiday คือการหยุดพักชะระเบี้ย เช่น บริษัทกรุงเทพประกันชีวิตให้สิทธินี้ใช้ได้ก็ต่อเมื่อชำระ RP ครบ 3 ปี (ถ้าเป็นรายเดือนต้องจ่ายครบ36 เดือน) และกรมธรรม์ มีมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หากหยุดพักชำระเบี้ยก่อน 3 ปีกรมธรรม์ จะสิ้นสุดบังคับอัตโนมัติ ในระหว่างใช้สิทธิหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัยหลัก คุณจะไม่สามารถใช้สิทธิ 5 อย่างนี้คือ
ไม่สามารถชำระเบี้ย RTU ได้ (ถ้ามี) และ
ไม่สามารถชำระเบี้ย ATU เว้นแต่กรณีมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่เพียงพอที่จะชำระค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ รายเดือน
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเบี้ย RP และเบี้ย RTU (ถ้ามี)
ซื้อสัญญาเพิ่มเติมเพื่อแนบกับกรมธรรม์ นี้
เปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัย

-Non-Lapse Guaranteed คือ สิทธิการมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะ เวลา 10 ปี นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ ความคุ้มครองตามจำนวนเงินเอาประกันภัย จะมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามูลค่า รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจะมีไม่เพียงพอต่อการชำระค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ รายเดือนที่ถึงกำหนดชำระ ทั้งนี้ สิทธินี้เสมือนบริษัทจะช่วยสำรองจ่ายให้ก่อน เพื่อคุ้มครองยังคงอยู่ ใน โดยคุณกลับมาชำระเบี้ย จะมีการหักลบหนี้สินก่อนนำไปลงทุน โดยไม่คิดดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 อย่างคือ
ชำระเบี้ย RP ครบตามกำหนดทุกงวด และไม่เคยหยุดพักชำระเบี้ย
ไม่เคยถอนเงินจากหน่วยลงทุนของเบี้ย RP
ไม่ลดจำนวนเบี้ย RP
-Loyalty Bonus คือ โบนัสพิเศษสำหรับเบี้ยประกันภัยหลัก บางบริษัท เช่นกรุงเทพประกันชีวิตจะจ่ายโบนัสพิเศษ มีชีวิตอยู่และกรมธรรม์ มีผลบังคับ โดยชำระเบี้ยประกันภัยหลักครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 9 ปี พอปีที่ 10 จะได้รับโบนัสพิเศษนี้ 0.2 % พอปีที่ 20 จะได้รับโบนัสพิเศษ 0.3 % โดยสิทธินี้มีผลเฉพาะปีที่ชำระเบี้ยเข้ามาในกรมธรรม์เท่านั้น
โดยจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนตามการจัดสรรการลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลัก หรือ เบี้ย RP แล้วใส่กลับไปในบัญชีของผู้เอาประกันภัย อย่างไรก็ตาม สิทธิโบนัสพิเศษ จะสิ้นสุดทันที หากว่า กรมธรรม์ขาดอายุและสิ้นผลบังคับ ลดจำนวนเบี้ยประกันภัยหลัก ถอนเงินออกจากกรมธรรม์บางส่วนจากหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลัก

คำศัพท์เฉพาะของแต่ละผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณต์ใดก็ตาม รวมถึงประกันชีวิตควบการลงทุน แต่ละคำศัพท์เฉพาะเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการทำงานของแบบประกันนั้นๆที่เราต้องทำความเข้าใจเพราะอาจจะมีผลต่อการวางแผนและตัดสินใจทำประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ ยูนิตลิ้ง (Unit Linked) เมื่อคุณใช้สิทธิต่างๆ ระบบกลไกของแต่ละคำศัพท์นั้นจะเริ่มทำงานทันที ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจโดยการปรึกษาตัวแทนประกันชีวิตเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้คำแนะนำในการวางแผนกับการออกแบบประกันแบบยูนิตลิ้งค์ให้เหมาะสมกับตัวเอง ในระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้
Writer : Better Call Nika
อ้างอิงจาก :
ขอบคุณข้อมูลจากการอบรม ยูนิตลิ้งค์ ของตัวแทนกรุงเทพประกันชีวิต (ข้อมูลอัพเดท ณ เดือน กันยายน 2567)
コメント